เมนู

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นหทยวัตถุ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อาโปธาตุ ฯลฯ กวฬีการาหาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อม
เกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.
3. สัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะและหทยวัตถุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ และหทยวัตถุ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[241] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาต-
ปัจจัย.
พึงกระทำมูลแห่งวาระทั้งสอง.

12. อาเสวนปัจจัย


[242] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ โวทาน
เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

13. กัมมปัจจัย


[243] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหขชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.